Blue-naped Pitta ( Pitta nipalensis (Hodgson, 1837) )

Select an image:

Thai Name : นกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า 
Common Name : Blue-naped Pitta 
Scientific Name : Pitta nipalensis (Hodgson, 1837) 
Status : Rare Resident 
Location : Huai Manao hide (restricted access), Sukhothai 
Date : 23 April 2023 
Photographer : Mahasak Sukmee 
Specification : คล้ายนกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงินมาก แต่ตะโพกไม่มีสีฟ้า หัวและหลังสีเขียวคล้ำ ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมเหลือง ข้างหัวมีแถบดำ ตัวผู้ : หน้าผากและใบหน้าสีน้ำตาลแดง ท้ายทอยสีฟ้า ตัวเมีย : หน้าผากและใบหน้าสีน้ำตาลแดงซีดกว่าตัวผู้ ท้ายทอยแกมสีฟ้าจาง ๆ แต่มักกลมกลืนเป็นสีเดียวกับหลัง 
ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก ป่าดิบ ที่ราบถึงความสูง 1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีรายงานการพบครั้งแรกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย จังหวัดเลย (วันที่ 1 มีนาคม 2552) อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง พื้นที่แนวป่ารอยต่ออำเภอเด่นชัยและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดแพร่ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และผืนป่าในเขตอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน 
แหล่งอ้างอิง : คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย  ปี 2555 
Report : (0) มีรายงานการพบนกที่คาดว่าอาจเป็นนกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า จำนวน 1 ตัว ที่อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 (2009) รายงานโดย Jean-Paul Boerekamps ซึ่งได้รายงานไว้ว่าเป็นนกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล (Rusty-naped Pitta) แต่ก็อธิบายว่าพบนกในระดับเพียง 200 เมตร จากระดับน้ำทะเลเท่านั้น ซึ่งระดับต่ำสุดที่สามารถพบได้คือ 390 เมตร ข้อมูลจาก eBird
(1) มีรายงานการพบ นกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า จำนวน 1 ตัว ที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 โดยกลุ่มนักดูนกในพื้นที่ นับเป็นรายงานการพบครั้งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
(2) มีรายงานการพบนกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้าหลายครั้งในเวลาต่อมาแต่เกือบทั้งหมดเป็นรายงานการได้ยินเสียงร้องมาจากในหุบบริเวณเดิม
(3) มีรายงานการพบ นกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า จำนวน 1 ตัว และสามารถบันทึกภาพได้ โดย Dave Eric Sargeant ที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559 (บันทึกรายงานการพบนกโดย Dave Eric Sergeant ที่ Thai Bird Report "Absolutely not the world's best photoes of Blue-naped Pitta, but probably the only photos of this birds as yet from Thailand? From Phu Suan Sai, 28 Mar, Photographed at 6.30 pm. from dark forest gulley, so almost no light") ถือเป็นชุดภาพถ่ายของนกชนิดนี้ถูกบันทึกได้ครั้งแรกในประเทศไทย
(4)
มีรายงานการพบนกวัยอ่อน 1 ตัว ที่สวนป่าในอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 โดย Chanon Chirachitmichai และ Amonpong Khlaipet และมีรายงานการพบอีกครั้งช่วงไฟป่า ที่อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ด้านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
(5) มีรายงานภาพเคลื่อนไหวจากกล้อง Camera Trap จากบ่อห้วยมะนาว ชายป่าอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เวลา 16.49 น. รายงานโดย มหศักดิ์ สุขมี ถือเป็นรายงานการพบครั้งแรกในจังหวัดสุโขทัย
(6) ได้ยินเสียงนกร้อง 1 ตัว ที่บ่อธาราวสันต์ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 รายงานโดย มหศักดิ์ สุขมี 
(7) มีรายงานภาพเคลื่อนไหวจากกล้อง Camera Trap จากบ่อธาราวสันต์ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา 17.10 น. 
(8) ได้ยินเสียง นกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า ร้องด้านหลังไบล์นบ่อธาราวสันต์ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 08.32 น. รายงานโดย มหศักดิ์ สุขมี
(9) พบและถ่ายภาพ นกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า ได้ 1 ตัว ที่อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.30 น. รายงานโดย เอกชัย อานุภาพ
(10) มีรายงานการพบเห็นนกที่คาดว่าจะเป็น นกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้า เพศเมีย กระโดดหากินและยืนนิ่ง ที่บ่อธาราวสันต์ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นเวลาอย่างน้อย 1 นาที (เวลา 17.50-17.55 น.) ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 รายงานโดย ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ 
(11) มีรายงานภาพเคลื่อนไหวของนกแต้วแล้วใหญ่ท้ายทอยสีฟ้าจากกล้องดักถ่าย (Camera Trap) ที่บ่อห้วยมะนาว เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.48 น. วันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17.20 น. และพบล่าสุดวันที่ 4 ธันวาคม 2563 เวลา 16.27 น. รายงานโดย มหศักดิ์ สุขมี
(12) ได้ยินเสียงร้อง 2 ครั้ง ที่บ่อห้วยมะนาว ชายป่าอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ช่วงบ่ายวันที่ 6 ธันวาคม 2563 รายงานโดย Rangsan Pisuttiwong
(13) ในช่วงต้นปี 2564 พบนก 1 คู่ หากินบริเวณบ่อน้ำที่ห้วยมะนาว ภาพจาก Camera Trap ต่อมาพบนกเพศเมีย หากินวนเวียนใกล้กับบ่อห้วยมะนาว และพบได้เป็นประจำในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จากนั้นในช่วงปลายเดือนกันยายน 2564 พบนกเพศผู้ ตัวเด็กหากินใกล้บ่อ สืบเนื่องไปจนถึงช่วงปลายเดือนตุลาคม