Grey-bellied Wren Babbler ( Spelaeornis reptatus (Bingham, 1903) )

Select an image:

Thai Name : นกจู๋เต้นหางยาว 
Common Name : Grey-bellied Wren Babbler 
Scientific Name : Spelaeornis reptatus (Bingham, 1903) 
Status : Uncommon Resident 
Location : Doi Kajerla, Umphang, Tak 
Date : 10 February 2024 
Photographer : Benjamyn Weil 
Specification : ขนาดเล็ก คล้ายนกจู๋เต้นจิ๋ว แต่หางยาวออกมาชัดเจน ตัวผู้ : ลำตัวด้านบนน้ำตาลเข้มมีลายเกล็ดจากขอบขนสีเข้มกว่า ปีกและหางเรียบไม่มีจุดหรือบั้ง ข้างหัวและแก้มเทา คอขาว ลำตัวด้านล่างน้ำตาล แต่กลางอกและท้องสีเทามีจุดและลายขวางสีขาวและดำกระจาย ตัวเมีย : คอและอกน้ำตาลเหลืองแกมส้ม อกและสีข้างน้ำตาลแกมแดงมากกว่าตัวผู้
เสียงร้อง : "เปรี๋รรว ปะริดวิดวิดอิ๊ดอิ๊ด"
ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : หากินและหลบซ่อนตัวใกล้พื้นดิน ในป่าดิบหรือพื้นที่ค่อนข้างโปร่งในป่าดิบ มักพบใกล้น้ำ รายงานการพบที่ความสูง 2,000 เมตร มีรายงานการพบเฉพาะที่เขาขะเจอลา อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เท่านั้น
แหล่งอ้างอิง : คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย ปี 2555 และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 5 รศ.โอภาส ขอบเขตต์  
Report : (1) ฟิลิป ดี ราวด์ และ ดร.อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ พบประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ของนกประจำถิ่นชนิดนี้บนดอยขะเจละ (บางครั้งเรียก "ขะเจอลา") เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ช่วงวันที่ 24-25 เมษายน 2544 ฟิลิป ดี ราวด์ บันทึกเสียงของนกชนิดนี้เอาไว้ด้วยและส่งเทปไปให้เครก ร็อบสัน และได้รับการยืนยันว่า เป็นนกชนิดนี้แน่นอน ต่อมา ดร.อนรรฆก็ได้รูปถ่ายมารูปหนึ่งด้วย ดอยขะเจละเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทยโดยสูงเกินกว่า 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล งานเขียนที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการพบนกนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนกกางเขนของสมาคมนักปักษีวิทยาอังกฤษ (British Oraithologists'Club) แล้ว