Parasitic Jaeger ( Stercorarius parasiticus (Linnaeus, 1758) )

Select an image:

Thai Name : นกสกัวขั้วโลกเหนือ 
Common Name : Parasitic Jaeger 
Scientific Name : Stercorarius parasiticus (Linnaeus, 1758) 
Status : Rare Winter Visitor 
Location : Bueng Boraphet Non-Hunting Area, Nakhon Sawan 
Date : 6 September 2014 
Photographer : Chalermchai Ouchan 
Specification :

ปีกยาวเรียกว่านกสกัวหางช้อน แถบขาวปลายปีกเห็นชัดเพียงแถบเดียว หัวเล็กกว่า ดูเป็นรูปสามเหลี่ยม ปากเรียวสีเทาปลายดำ ลำตัวค่อนข้างกลม หางคู่กลางแหลมยาวชัดเจน นกเต็มวัยสีอ่อน :  คล้ายนกฤดูผสมพันธุ์แต่สีซีดกว่า ตะโพกและก้นมีลายขวางสีเข้ม ขนปลายปีกคู่นอกๆสีอ่อน นกเต็มวัยสีอ่อนขนชุดผสมพันธุ์ :  คล้ายนกสกัวหางช้อน อาจมีแถบคาดอกสีเทา มีจุดขาวด่างที่หน้าผาก นกวัยอ่อนสีอ่อน : ลำตัวด้านล่างน้ำตาลเข้ม ใต้ปีกมีลายน้ำตาลเข้มสลับน้ำตาลแกมส้ม หน้าผากและกระหม่อมดำตัดกับท้ายทอยน้ำตาลแกมส้ม ปีกด้านบนน้ำตาลเข้ม ขอบปีกด้านหน้า ขอบปีกด้านหน้า ลายขวางบนปีก และตะโพกน้ำตาลแกมส้ม นกเต็มวัยสีเข้มขนชุดผสมพันธุ์ :  สีดำแกมน้ำตาลเข้มตลอดตัว กระหม่อมสีเข้มกว่าอาจมีจุดขาวระหว่างโคนปากและหน้าผาก บางตัวข้างคอสีน้ำตาลแกมเหลือง นกวัยอ่อนสีเข้ม : คล้ายนกเต็มวัย แต่ใต้ปีกมีลายสีน้ำตาลแกมเหลือง ท้องอาจมีลายขวางสีอ่อน
ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก : เป็นนกพลัดหลงเข้ามาในแผ่นดิน มีรายงานการพบเพียงครั้งเดียวที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 
แหล่งอ้างอิง : คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์ 

 
Report : (1) พบและสามารถถ่ายภาพนกสกัวขั้วโลกเหนือที่ยังโตไม่เต็มวัยได้ 1 ตัว ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2547 ถือเป็นการพบลึกเข้ามาในแผ่นดินครั้งแรกของนกชนิดนี้รายงานโดย โดม ประทุมทองและอรุณ น้อยศรี : วารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2547