Hen Harrier ( Circus cyaneus (Linnaeus, 1766) )
Select an image:
Thai Name : | เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ |
Common Name : | Hen Harrier |
Scientific Name : | Circus cyaneus (Linnaeus, 1766) |
Status : | Very Rare Winter Visitor or Passage Migrant |
Location : | Pong Daeng Paddyfields, Tak |
Date : | 4 February 2021 |
Photographer : | Jens Toettrup |
Specification : | ตัวผู้ : หัวและลำตัวด้านบนเทาอ่อนแกมฟ้า หลังและปีกเข้มกว่าเล็กน้อย ลำตัวด้านล่างและตะโพกขาว หางเทาแกมขาว ขนหางคู่นอก ๆ มีลายขวางจาง ๆ ขณะบินลำตัวด้านบนเทาแกมฟ้าอ่อนตัดกับขนปลายปีกดำ ตะโพกขาว คอและอกด้านล่างเทาแกมฟ้า ปีกและลำตัวด้านล่างขาว ปลายปีกดำ ขอบปีกหลังด้านในสีเทาเข้มกว่าบริเวณอื่น ตัวเมีย : ขนลำตัวน้ำตาล คอและอกมีลายขีดหนา ขณะบินลำตัวด้านบนน้ำตาลเข้ม ตะโพกขาวเด่นชัด ปลายปีกกว้างและมนกว่าเหยี่ยวทุ่งสีจาง ขนปีกบินมีลายสีเข้มตามยาวทั้งด้านบนและล่าง หางมีลายขวางสีเข้ม นกวัยอ่อน : คล้ายตัวเมีย แต่ขนลำตัวแกมน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างมีลายขีดยาวตามแนวลำตัว ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : ทุ่งนา ทุ่งหญ้า และพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่งในที่ราบ มีรายงานการพบเป็นนกตัวผู้และตัวเมีย ที่ทุ่งแม่ระวิง (2545) ทุ่งหนองตม (2566) จังหวัดสุโขทัย และบ้านโป่งแดง จังหวัดตาก แหล่งอ้างอิง : คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย ปี 2555 และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์ |
Report : | (1) มีรายงานการพบพร้อมภาพถ่าย คาดว่าเป็นเหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ เพศผู้ 1 ตัว ที่ทุ่งนิคม ตำบลบ้านนา อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2562 รายงานโดย เกษร ภู่พิชิต (2) มีรายงานพร้อมภาพถ่าย เหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ เพศเมีย จำนวน 1 ตัว ที่บ้านโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 รายงานโดน Jens Toettrup (3) พบและถ่ายภาพเหยี่ยวทุ่งแถบเหนือ เพศเมีย จำนวน 1 ตัว ที่ทุ่งหนองตม อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 รายงานโดย Jens Toettrup (eBird) |