Large-billed Reed Warbler ( Acrocephalus orinus (Oberholser, 1905) )
Select an image:
Thai Name : | นกพงปากยาว |
Common Name : | Large-billed Reed Warbler |
Scientific Name : | Acrocephalus orinus (Oberholser, 1905) |
Status : | Very Rare Winter Visitor |
Location : | Large-billed Reed Warbler |
Date : | 6 February 2013 |
Photographer : | Natthapong Chantana and Bung Boraped Wildlife Research Station's Team |
Specification : | คล้ายกับนกพงนาพันธุ์จีนและนกพงนาพันธุ์อินเดียมาก แต่ปากยาวกว่า ปากล่างสีชมพูอ่อนชัดเจนกว่า คิ้วสีน้ำตาลอ่อนสั้นกว่านกพงนาพันธุ์จีน ขนสีน้ำตาลเข้มกว่านกพงนาพันธุ์อินเดียเล็กน้อย ขาและนิ้วอัตราส่วนยาวกว่า ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : มีรายงานการพบในดงหญ้าสูงในพื้นที่ชุ่มน้ำ ช่วงเดือนเมษายน นกอพยพ หายากมากหรือมีข้อมูลน้อย ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มีรายงานการพบจำนวน 3 ครั้งที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ 1. พบครั้งแรก วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 2. ครั้งที่ 2 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 3. ครั้งที่ 3 วันที่ 13 ธันวาคม 2560 แหล่งอ้างอิง : คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย ปี 2555 |
Report : | (1) วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 พบนกพงปากยาว 1 ตัว ติดตาข่ายที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นับเป็นรายงานการพบนกชนิดนี้เป็นตัวที่ 3 ของประเทศหลังจากที่มีการพบมาก่อนที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรีและเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จากการดักตาข่ายดังกล่าว ถูกตรวจสอบและถ่ายภาพเปรียบเทียบคู่กับนกพงนาพันธุ์จีน 1 ใน 2 ตัวที่ดักไว้ในพื้นที่ช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม รายงานโดย กุลธิดา อิทธิพร และทีมวิจัยสถานีวิจัยฯ บึงบอระเพ็ด : วารสารนกกางเขนสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2552 (2) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 พบนกพงปากยาว 1 ตัว ติดตาข่ายใกล้กับเกาะ ดร.สมิธ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นับเป็นรายงานที่ 5 ของประเทศและรายงานที่ 2 ของบึงบอระเพ็ด พบครั้งแรกโดยคุณณัฐพงศ์ จันทนะ และทีมวิจัยสถานีวิจัยฯ บึงบอระเพ็ด (3) วันที่ 13 ธันวาคม 2560 พบนกพงปากยาว 1 ตัว ติดตาข่าย เป็นรายงานที่ 3 ของบึงบอระเพ็ด รายงานโดยทีมวิจัย สถานีวิจัยฯ บึงบอระเพ็ด |