Select an image:
Thai Name : | นกอัญชันป่าขาเทา |
Common Name : | Slaty-legged Crake |
Scientific Name : | Rallina eurizonoides (Lafresnaye, 1845) |
Status : | Rare Winter Visitor |
Location : | Si Satchanalai National Park, Sukhothai |
Date : | 9 February 2020 |
Photographer : | Mahasak Sukmee |
Specification : | คล้ายนกอัญชันป่าขาแดง แต่ขนาดใหญ่กว่า ปากหนาและยาวกว่า ปีกไม่มีลายขวาง แข้งและตีนสีเทา ปีกและหลังสีน้ำตาลคล้ำมากกว่า เสียงร้อง : "เก๊ก-เก๊ก" เสียงเตือนภัยดัง "ครื่อ-คร่า-คร่า-คร่า" ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก : ลำธารและพื้นที่ชุ่มน้ำในป่า ช่วงฤดูอพยพพบได้หลายแหล่งอาศัย ที่ราบถึงความสูง 1,500 เมตร มีรายงานการพบที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาตินาแห้ว ที่ 1 (ภูหัวฮ่อม) อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย จังหวัดเลย อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช จังหวัดตาก อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก |
Report : | (1) พบกอัญชันป่าขาเทา จำนวน 1 ตัว ตายจากการบินชนสายไฟฟ้าที่อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 (2008) รายงานเจ้าหน้าที่อุทยานฯ : วารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 25 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2551 (2) พบและถ่ายภาพ นกอัญชันป่าขาเทา จำนวน 1 ตัว ที่จุดนกเล่นน้ำ ช่องเย็น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ปี 2555 (2013) รายงานโดย นภา ทรัพย์ธำรง (3) พบและถ่ายภาพ นกอัญชันป่าขาเทา จำนวน 1 ตัว ลงเล่นน้ำที่บ่อห้วยมะนาว ชายป่าอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 (2020) โดยทีมสำรวจนกและศึกษาธรรมชาติสุโขทัย ต่อมาพบอีกครั้งจากกล้อง Camera trap เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 เวลา 17.38 น. (4) พบและถ่ายภาพ นกอัญชันป่าขาเทา จำนวน 1 ตัว ในพื้นที่ทุ่งตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 (2021) รายงานโดย เกรียง มีมะโน (5) พบและถ่ายภาพ นกอัญชันป่าขาเทา จำนวน 1 ตัว ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 (รายงานการพบครั้งแรกของพิษณุโลก) รายงานโดย มาโนช แตงตุ้ม |