Black Stork ( Ciconia nigra (Linnaeus, 1758) )
Select an image:
Thai Name : | นกกระสาดำ |
Common Name : | Black Stork |
Scientific Name : | Ciconia nigra (Linnaeus, 1758) |
Status : | Rare Winter Visitor |
Location : | Taphan Hin, Phichit |
Date : | 13 November 2018 |
Photographer : | Krieng Meemano |
Specification : | หนังรอบตาและปากแดงเข้ม ตัดกับหัว คอ อก และหลังดำเหลือบเขียว ปีกและหางดำแกมม่วง อกตอนล่าง ลำตัวด้านล่าง และขนคลุมใต้ปีกด้านในขาว แข้งและตีนแดงเข้ม นกวัยอ่อน : หนังรอบตา และปากน้ำตาลคล้ำแกมเขียว ขนลำตัวดำแกมน้ำตาล ลำตัวด้านล่างขาวแกมน้ำตาล ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก : ทุ่งนา แม่น้ำใหญ่ หนองบึง และพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ นกอพยพ หายาก มีรายงานการพบในพื้นที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และพื้นที่ใกล้เคียง อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา บ้านดป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียง แหล่งอ้างอิง : คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์ |
Report : | (1) พบนกกระสาดำ วัยอ่อน จำนวน 1 ตัว ที่เขาบันได เขตรักาาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยะานี เมื่อวันที่ 10 หรือ 11 มกราคม 2550 (2007) รายงานโดยประสงค์ ไกรศักดาวัฒน์ : กวารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2550 (2) พบและถ่ายภาพนกกระสาดำ วัยอ่อน จำนวน 1 ตัว ที่อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2555 (2012) รายงานโดย คุณสมเกียรติ อยู่นคร (3) พื้นที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร (ช่วงปี 2558-2563) (4) พบนกกระสาดำ จำนวน 1 ตัว ที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก โดย Gerald Moore เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2560 (2017) (5) พบและถ่ายภาพนกกระสาดำ จำนวน 1 ตัว ที่บ้านโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 รายงานโดย Jens Toettrup นับเป็นรายงานการพบเป็นครั้งที่ 2 ของพื้นที่ |