Glossy Ibis ( Plegadis falcinellus (Linnaeus, 1766) )

Select an image:

Thai Name : นกช้อนหอยดำเหลือบ 
Common Name : Glossy Ibis  
Scientific Name : Plegadis falcinellus (Linnaeus, 1766) 
Status : Rare Winter Visitor and Resident 
Location : Ban Huaphluang Community Site, Nakhon Sawan 
Date : 21 May 2015 
Photographer : Eakachai Anuphap 
Specification :

ปากโค้งยาวสีเหลืองคล้ำ หัว คอ และลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม รอบใบหน้าเป็นเส้นสีขาวแกมฟ้า มีลายขีดขาวกระจายที่หัวและคอ ปีกและหลังตอนท้ายเขียวเข้มเหลือบเป็นมัน แข้งและตีนน้ำตาลเข้ม ขนชุดผสมพันธุ์ : หัว คอ และลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มแกมม่วง หน้าผากเขียวเข้ม ไม่มีลายขีดขาวกระจายที่หัวและคอ เส้นรอบหน้าชัดเจนขึ้นสีฟ้าอ่อน สีเขียวที่ปีกและหลังตอนท้ายเหลือบเป็นมันและแกมสีม่วงมากขึ้น ปากสีน้ำตาลอ่อนกว่าช่วงปกติ นกวัยอ่อน : สีหม่น ไม่มีเส้นรอบหน้า หัวและคอมีจุดขาวหนาแน่น ขนปีกไม่เหลือบเป็นมันหรือมีเพียงเล็กน้อย
ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก : พื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ ทุ่งนา บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ทุ่งนาในพื้นที่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ 
แหล่งอ้างอิง : คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์

 
Report : (1) วันที่ 19 - 21 กรกฎาคม 2545 พบนกช้อนหอยดำเหลือบ 9 ตัว ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ รายงานโดยสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด : วารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 19 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2545
(2) วันที่ 1 มกราคม 2546 พบนกช้อนหอยดำเหลือบ 11 ตัว ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ รายงานโดยโศพิชญ์ชา ต่อมาวันที่ 4 มกราคม 2546 พบนก 9 ตัว (โดม, วัชระ, สมชาย) และเหลือเพียง 5 ตัวในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 (โดม, ยุทธนา, วัชระ และคณะ) : วารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2546
(3) วันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 พบนกช้อนหอยดำเหลือบ 48 ตัว นับเป็นจำนวนสูงสุดเท่าที่เคยมีรายงาน รายงานโดยสมิทธิ์ สุติบุตร์ : วารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2549 
(4) วันที่ 29 เมษายน 2549 พบนกช้อนหอยดำเหลือบ สร้างรังอยู่ 5 รัง นับเป็นข้อมูลที่น่าตื่นเต้นมากเพราะเป็นการรายงานการสร้างรังครั้งแรก ของนกชนิดนี้ในประเทศไทย รายงานโดยไกรรัตน์ เอี่ยมอำไพ และสถานีวิจัยฯ บึงบอระเพ็ด รายงานโดยวัชระ สงวนสมบัติ : วารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 23 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2549
(5) พบนก 1 ตัว ในพื้นที่อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 รายงานโดย Warisara Tiabratana (eBird)