Oriental Darter ( Anhinga melanogaster (Pennant, 1769) )
Select an image:
Thai Name : | นกอ้ายงั่ว |
Common Name : | Oriental Darter |
Scientific Name : | Anhinga melanogaster (Pennant, 1769) |
Status : | Uncommon Resident |
Location : | Bueng Boraphet Non-Hunting Area, Nakhon Sawan |
Date : | 17 March 2024 |
Photographer : | Manod Taengtum |
Specification : | ปากแหลมยาวสีเหลือง คอยาวเรียวเล็ก หัวและคอสีน้ำตาลเข้ม คอด้านหน้าสีอ่อน มีเส้นขาวลากจากตาตามความยาวคอเกือบถึงอก ลำตัวด้านล่างน้ำตาลดำ หลังและปีกมีลายขาวเป็นริ้วจากขนสีขาว หางยาวมีลายบั้งสีขาวแกมเทา ขนชุดผสมพันธุ์ : กระหม่อม หลังคอ หลังตอนบนดำ คอด้านหน้าสีน้ำตาลแดงมากขึ้น ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและล้านนาตะวันออก : หนอง บึง ทะเลสาบ แม่น้ำขนาดใหญ่ เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ในปัจจุบันมีรายงานการพบเพิ่มมากขึ้นตามแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร บึงกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์ เหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก บึงใหญ่ หนองจระเข้ และหนองน้ำจีน จังหวัดสุโขทัย แหล่งอ้างอิง : คู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย และหนังสือนกในเมืองไทย เล่ม 3 รศ.โอภาส ขอบเขตต์ |
Report : | (1) วันที่ 23 ธันวาคม 2549 พบนกอ้ายงั่ว 1 ตัว ในกลุ่มนกน้ำที่บ้านวังเป็ด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก นับเป็นรายงานแรก ๆ ที่พบนกที่หายากมากชนิดนี้ปรากฎตัวในพื้นที่ รายงานโดยมาโนช แตงตุ้ม : วารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2550 (2) วันที่ 13-14 สิงหาคม 2550 พบนกอ้ายงั่ว 20 ตัว และพบรัง 1 รัง ซึ่งมีลูกนก 2 ตัว ที่บ้านวังเป็ด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก รายงานโดยมาโนช แตงตุ้ม : จากวารสารนกกางเขน สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2550 |